แดงเขา ๒

Syzygium attenuatum (Miq.) Merr. et L. M. Perry subsp. circumscissum (Gagnep.) Chantar. et J. Parn.

ไม้ต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง ๓๐ ม. เปลือกนอกสีน้ำตาลแดง ค่อนข้างเรียบหรือแตกล่อนเป็นแผ่นขนาด ใหญ่ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่ ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตาม ซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาวหรือสีเขียวอ่อน ไร้ก้าน กลีบดอกแต่ละกลีบมีต่อม ๓๐-๕๐ ต่อม ผลแบบผล มีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด ผลอ่อนรูปกระบอง ผลแก่รูปทรงกลม สีเขียวเข้มเป็นมันวาว มีกลีบเลี้ยงติดทนที่ปลายผล มีเมล็ดน้อย


     แดงเขาชนิดนี้เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง ๓๐ ม. เรือนยอดค่อนข้างทึบ ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมีพอนขนาดใหญ่ เปลือกนอกสีน้ำตาลแดง ค่อน ข้างเรียบหรือแตกล่อนเป็นแผ่นขนาดใหญ่ เปลือกในสี น้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นสันเหลี่ยมเล็กน้อย เกลี้ยง กิ่งแก่กลม สีเทาหรือสีน้ำตาลคล้ำ

 


     ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่ กว้าง ๑.๑-๒ ซม. ยาว ๓-๕.๒ ซม. ปลายเรียว แหลมหรือยาวคล้ายหาง โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ แผ่นใบ หนาคล้ายแผ่นหนัง ค่อนข้างเหนียว ด้านบนสีเขียวเข้มด้านล่างสีเขียวอ่อน เรียบและเกลี้ยงทั้ง ๒ ด้าน เส้นกลาง ใบเป็นร่องเล็กน้อยทางด้านบน นูนเด่นทางด้านล่าง เส้น แขนงใบข้างละ ๑๕-๒๒ เส้น ปลายเส้นแขนงโค้งจดกัน ก่อนถึงขอบ เส้นขอบใน ๑ เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแห ใบแก่ก่อนร่วงสีน้ำตาลแดง ก้านใบยาว ๑.๕-๔ มม. เกลี้ยง ไม่มีหูใบ

 

 


     ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามซอก ใบและที่ปลายกิ่ง ช่อยาวได้ถึง ๔ ซม. ก้านช่อดอกยาว ๐.๘-๑ ซม. กลม แกนกลางช่อและก้านแขนงช่อดอกค่อน ข้างเรียวและเป็นสันสี่เหลี่ยม ดอกสีขาวหรือสีเขียวอ่อน ไร้ก้าน ดอกออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๓ ดอก หรือส่วน ปลายสุดของช่อดอกออกเป็นกระจุก ๓ ดอก ฐานดอก รูปกรวย ยาว ๖.๓-๗.๔ มม. มีสันย่นตามยาว ก้านดอก เทียมยาว ๔.๕-๕ มม. กลีบเลี้ยง ๔ กลีบ สีเขียวอ่อน รูป ครึ่งวงกลม ยาว ๐.๒-๐.๖ มม. กลีบดอก ๔ กลีบ แยก เป็นอิสระ รูปค่อนข้างกลมคล้ายฝาปิด ยาว ๐.๙-๑.๘ มม. ส่วนโคนหนา สีน้ำตาลเข้ม ขอบกลีบบางใส แต่ละ

 


กลีบมีต่อม ๓๐-๕๐ ต่อม เกสรเพศผู้จำนวนมาก แยก เป็นอิสระ เกสรที่อยู่รอบนอกยาว ๑.๔-๒ มม. ก้านชูอับ เรณูรูปเส้นด้าย อับเรณูทรงรูปไข่ ยาว ๐.๔-๐.๕ มม. ติด ด้านหลัง ปลายแกนอับเรณูยื่นเป็นต่อม รังไข่อยู่ใต้วง กลีบ มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๑๕-๑๖ เม็ด ก้านยอด เกสรเพศเมียอวบ ยาว ๐.๘-๒ มม. ยอดเกสรเพศเมีย เป็นตุ่มขนาดเล็ก
     ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด ผลอ่อนรูป กระบอง ผลแก่รูปทรงกลม สีเขียวเข้มเป็นมันวาว มีกลีบ เลี้ยงติดทนที่ปลายผล ผิวขรุขระเล็กน้อย มีเมล็ดน้อย
     แดงเขาชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศ ไทยทางภาคตะวันออกและภาคใต้ พบตามป่าดิบแล้งหรือ ป่าดิบชื้น ที่ราบ ที่ลาดเขา หรือยอดเขา ที่สูงจากระดับทะเล ๓๐๐-๑,๒๐๐ ม. ออกดอกเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ เป็นผลเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน ในต่างประเทศพบที่ เมียนมา มาเลเซีย และเวียดนาม.

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
แดงเขา ๒
ชื่อวิทยาศาสตร์
Syzygium attenuatum (Miq.) Merr. et L. M. Perry subsp. circumscissum (Gagnep.) Chantar. et J. Parn.
ชื่อสกุล
Syzygium
คำระบุชนิด
attenuatum
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- (Miq.)
- Merr. et L. M. Perry
ชื่อชนิดย่อย (ถ้ามี)
subsp. circumscissum
ชื่อผู้ตั้งชนิดย่อย (ถ้ามี)
- (Gagnep.)
- Chantar. et J. Parn.
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (Miq.) ช่วงเวลาคือ (1811-1871)
- Merr. ช่วงเวลาคือ (1876-1956)
- L. M. Perry ช่วงเวลาคือ (1895-1992)
ผู้เขียนคำอธิบาย
นายสุคิด เรืองเรื่อ
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.